“ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ” รางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2568

คณะกรรมการกองทุนศรีบูรพา ประกาศ “รางวัลศรีบูรพา” ประจำปี 2568 ได้แก่  ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ธเนศ  อาภรณ์สุวรรณ

          

ประวัติ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี 2568

 


เกิด       27 เมษายน 2491 ที่ป้อมปราบ กรุงเทพฯ
             หลังจากนั้น 1 ปี ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี


ประวัติการศึกษา

ประถมศึกษา     โรงเรียนวัดท่าคอย (สกุณอุปถัมภ์ ) ท่ายาง เพชรบุรี
มัธยมศึกษา       โรงเรียนวัดคงคาราม และโรงเรียนอรุณประดิษฐ เพชรบุรี
                        เรียนต่อที่อัสสัมชัญพาณิชย์ เซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ 
                        แล้วสอบเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2511

     • ปี 1-3คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

     • B.A., University of Rochester, New York, USA Major : Political Science Minor : History

     • M.A., Binghamton University, New York, USA. Major : U.S. History  Minor: Sociology    (Development Studies), East Asian History

     • Ph.D (U.S. History), Binghamton University, New York, USADissertation : James D.B. De Bow and the Political Economy of the Old South

 

ประวัติการทำงาน

     • อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

     • อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     • คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     • ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์

     • ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

     • คณะทำงานส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนศิลปศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษาแห่งชาติ

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม

     • กรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

     • Board of Trustees, Southeast Asian Studies Regional Exchange Program (SEASREP)

     • International Contributing Editor, Journal of American History, USA.

     • Visiting Associate Professor, Asian Research Institute, National University of Singapore

     • Visiting Professor, Southeast Asian Studies Program, UCLA, USA

     • Visiting Research Scholar, Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan

     • Visiting Research Fellow, Asian and Pacific Research Division, Australian National University

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอำนวยการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการอำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สก.สว.)

     • เมธีวิจัยอาวุโสสายมนุษยศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(2556-59)

     • ศาสตราจารย์เกียรติคุณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2567)

 

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ (ก.พ.ว.) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

     • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (ว.ช.)

     • กรรมการบริหาร มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

 

ผลงานทางวิชาการ

     ศึกษาและสนใจประวัติศาสตร์ระบบทาสในสหรัฐอเมริกา กับประวัติศาสตร์ความคิดการเมืองไทย ผลงานหลักคือ

     1. บาดแผลอเมริกา: สงครามกับเสรีภาพในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน, 2547.

     2. กำเนิดและความเป็นมาของสิทธิมนุษยชน  กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์คบไฟ, 2549

     3. ความคิดการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน,2549

     4. ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย  กรุงเทพฯ โครงการตำราฯ 2555.

     5. Rebellion in Southern Thailand: Contending Histories. East-West Center Washington Policy Studies 35, 2007.

     6. ความคิดทางการเมืองของคนอเมริกันผิวดำ: จากทาสสู่เสรีชน กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แสงดาว, 2550

     7. ประวัติศาสตร์วิพากษ์: สยามไทยกับปาตานี กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน 2556. 

     8. แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สมมติ 2556.

     9. กำเนิดและความเป็นมาของการปฏิวัติ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์วิภาษา 2556.

     10. กบฏวรรณกรรม: บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สมมติ 2556.

     11.  แปลร่วมกับอาวุธ ธีรเอก ประวัติศาสตร์อเมริกา ความรู้ฉบับพกพา กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์บุ๊คสเคป 2561.

     12. การก่อรูปของเศรษฐกิจก่อนระบบทุนนิยม (แปล) กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สมมติ 2561.

     13. สิทธิและเสรีภาพในประวัติศาสตร์การเมืองไทย กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556.

     14. บรรณาธิการ, ความ(ไม่)เป็นสมัยใหม่ : ความเปลี่ยนแปลงและย้อนแย้งของไทย กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ศยาม 2560.

     15. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สมมติ 2563.

     16. ลิงคอล์น ความรู้ฉบับพกพา (แปล) กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์โอเพนเวลด์ส 2556.

     17. MAGA: อเมริกากระจุย ระเบียบโลกกระจายภายใต้ทรัมป์ กรุงเทพ สำนักพิมพ์แสงดาว 2568

 

งานเขียนคอลัมน์

     1. ทัศนะสิทธิ์ ผู้จัดการรายวัน 2535 -2540

     2. จดหมายจากอเมริกา สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์

     3. การเมืองวิพากษ์ เนชั่นสุดสัปดาห์

     4. ตุลยวิภาคพจนกิจ มติชนสุดสัปดาห์  ปัจจุบัน

     5. The 101 World: US ปัจจุบัน


หนังสือศรีบูรพา เล่มแรกที่ได้อ่านสมัยมัธยมข้าพเจ้าได้เห็นมา ที่ห้องสมุดโรงเรียนอรุณประดิษฐ


บทความเขียนถึงศรีบูรพา

     1. ความรักของศรีบูรพา สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์  2542

     2. ปริศนาความรักในข้างหลังภาพของศรีบูรพา 2544

     3. กุหลาบ สายประดิษฐ์กับการเปลี่ยนแปลง 2475

     4. มนุษยภาพ ปรัชญาการเมืองของความเป็นมนุษย์ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ศิลปวัฒนธรรม 2548 รวมเล่มไว้ใน ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย ศิลปวัฒนธรรม 2549

 

สถานภาพ
     สมรสกับ นางเชลี แบรี่ ชาวอเมริกัน 

     มีบุตรสาว 2 คน คือ มาญา แคลร์ อาภรณ์สุวรรณ และ สรันยา อาภรณ์สุวรรณ
     ปัจจุบัน  พำนักอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี

 

 

 

หลักการรางวัลศรีบูรพา

           “รางวัลศรีบูรพา” เป็นรางวัลของ “กองทุนศรีบูรพา” ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อรำลึกและเผยแพร่เกียรติประวัติของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ “ศรีบูรพา” (พ.ศ. 2448-2517) นักประชาธิปไตย นักเขียน และนักหนังสือพิมพ์คนสำคัญของไทยและของโลก มอบสำหรับศิลปิน นักคิด นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ ผู้มีผลงานอันทรงคุณค่า มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงามและแบบฉบับการสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคม โดยมีเงื่อนไขการพิจารณาดังนี้

          1. เป็นนักคิด  นักเขียน นักแปล กวี หรือนักหนังสือพิมพ์ผู้มีชีวิตที่เป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีงาม และสร้างสรรค์งานที่เป็นต้นแบบหรือเป็นแบบฉบับที่มีคุณค่าต่อสังคมและมนุษยชาติมาอย่างต่อเนื่อง  จนเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน อย่างเช่น “ศรีบูรพา”

          2. มีผลงานติดต่อกันมายาวนานกว่า 30 ปี และต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

          3. ยังมีชีวิตอยู่