‘1 บ. = 1 ไร่’ เชิญชวนระดมทุนช่วย 32 ชุมชนภาคเหนือ ‘ดับไฟป่า’

‘1 บ. =1 ไร่ เชิญชวนระดมทุนช่วย 32 ชุมชนภาคเหนือ ดับไฟป่า

 

“ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า” เชิญชวนสนับสนุนภารกิจ “ปกป้องผืนป่า” ด้วยการบริจาค สิ่งของ อาหาร ยา อุปกรณ์ดับไฟป่า หรือ ร่วมสนับสนุนเงินทุน “1 บาท เท่ากับ 1 ไร่” ช่วย 32 ชุมชนภาคเหนือ เพื่อปกป้องผืนป่าภาคเหนือ 394,475 ไร่  

 

         ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ” ได้เผยแพร่ข้อความและรูปภาพ เชิญชวนสนับสนุนภารกิจ “ปกป้องผืนป่า” ด้วยการบริจาค สิ่งของ อาหาร ยา อุปกรณ์ดับไฟป่า หรือร่วมสนับสนุนเงินทุน เพื่อปกป้องผืนป่าภาคเหนือ  394,475 ไร่ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

 

 

 

 

         “ร่วมสนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า

#ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า

 

#รู้หรือไม่ ? ชุมชนภาคเหนือตอนบนที่อยู่ในเขตป่า 32 ชุมชนนี้ ดูแลปกป้องผืนป่า 394,475-2-28 ไร่มาตั้งแต่บรรพบุรุษ

 

วันนี้ พวกเขาต้องเผชิญกับสถานการณ์ #ไฟป่า ที่รุนแรงมากขึ้นกว่าทุกปี ยังต่อสู้กับไฟป่าอย่างโดดเดี่ยว รวมทั้งยังต้องต่อสู้กับการระบาดของ #COVID19

 

พวกเราคนในเมือง สามารถสนับสนุนภารกิจปกป้องผืน #ป่าชุมชน และ #ป่าจิตวิญญาณ อันเป็นบ้านของพวกเขา และเป็นปอดของพวกเราได้ ด้วยการบริจาคสิ่งของ อาหารและยา ตลอดจนงบประมาณสนับสนุนพวกเขา โดยเราต้องการอุปกรณ์ดับไฟป่า อาหารและยาจำนวนมาก รวมทั้งต้องการเงิน 394,475 บาท เพื่อช่วยพวกเขาปกป้องผืนป่า 394,475 ไร่ ในระยะปฏิบัติการ 10 วัน นับจากวันก่อตั้งศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่าเมื่อวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา

 

พวกเราในนาม ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า อันเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจระหว่าง มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ , ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) และโพควา โปรดักชั่น ขอขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

 

สามารถจัดส่งสิ่งของ อาหาร และยา มาที่ :

 

ศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ

77/1 หมู่ 5 ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

 

หรือสนับสนุนเงินทุนต่อสู้ไฟป่าโดยชุมชน มาที่บัญชี :

 

ธนาคารกรุงไทย 787-0-37294-3

ชื่อบัญชี นายประยงค์ ดอกลำใย และนางสาวสุวดี ทนุบำรุงสาสน์

 

ติดต่อประสานงาน

 

สุริยันต์ ทองหนูเอียด ผู้ประสานงานศูนย์สนับสนุนชุมชนสู้ไฟป่า 084-3784571

อภินันท์ ธรรมเสนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 094-5144153

ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี 083-3304866

 

รายชื่อ 32 ชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อจัดการไฟป่า

               

1.พื้นที่บ้านเวียงแหง ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 5,000 ไร่

2.บ้านแม่คองซ้าย ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 10,908 ไร่

3.บ้านแม่ป่าเส้า ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 8,000 ไร่

4.บ้านแม่อ้อใน ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 1,011 ไร่

5.บ้านห้วยหก-น้ำบ่อใหม่ ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 3,870 ไร่

6.บ้านห้วยน้ำริน ต.ทุ่งปี้ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 2,419 ไร่

7.พื้นที่ ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 24,513 ไร่

8.บ้านแม่โต๋ ต.บ่อแก้ว อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จำนวนพื้นที่ 25,000 ไร่

9.พื้นที่ ต.น้ำพาง อ.แม่จริม จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 11,400 ไร่

10.พื้นที่ห้วยน้ำหิน ต.สถาน อ.นาน้อย จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 1,200 ไร่

11.บ้านกอก ต.เชียงกลาง อ.เชียงกลาง จ.น่าน จำนวนพื้นที่ 10,068 ไร่

12.บ้านดอยช้างป่าแป๋ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน จำนวนพื้นที่ 21,034.33 ไร่

13.บ้านแม่กองคา ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 20,000 กว่าไร่

14.บ้านแม่หาด ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 13,685 กว่าไร่

15.บ้านนาดอย ต.แม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จำนวนพื้นที่ 7,935 ไร่

16.บ้านแม่อมกิ ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 17,000 กว่าไร่

17.บ้านแม่ลาคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 13,000 กว่าไร่

18.บ้านแม่โปคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 3,480 ไร่

19.บ้านขุนแม่เหว่ย-แม่ปอคี ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 8,412 ไร่

20.บ้านปางทอง ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 14,437 ไร่

21.บ้านแม่วะหลวง ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก จำนวนพื้นที่ 34,163 ไร่

22.บ้านแคววัวดำ ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 5,200 ไร่

23.บ้านห้วยลุหลวง อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 4,282-0-94 ไร่

24.บ้านหัวฝาย ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 3,300 ไร่

25.บ้านห้วยส้าน ต.ห้วยชมพู อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 5,500 ไร่

26.บ้านหินลาด ต.บ้านโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 27,000 ไร่

27.บ้านแม่ปูนน้อย ห้วยไร่ ห้วยงู ต.สันสลี อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย จำนวนพื้นที่ 13,000 ไร่

28.บ้านกลาง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 16,727 ไร่

29.บ้านแม่ส้าน ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 18,102 ไร่

30.บ้านขวัญคีรี ต.บ้านร้อง อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 14,954 ไร่

31.บ้านแม่หมี ต.หัวเมือง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 13,875 ไร่

32.บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง จำนวนพื้นที่ 16,000 ไร่

 

รวมจำนวนพื้นที่ชุมชนจัดการไฟประมาณ 394,475-2-28 ไร่”

 











 

//................

            CR : “มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ”

https://www.facebook.com/มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ-136038566495147/ 

//................