แพทย์เตือน ! ออกกำลังกายหนัก เสี่ยงหมอนรองกระดูกปลิ้น !
แพทย์เตือน ! ออกกำลังกายหนัก เสี่ยงหมอนรองกระดูกปลิ้น !
สายออกกำลังกายพึงระวัง แพทย์เฉพาะทางเตือน ออกกำลังกายหนักเกินไป เสี่ยงหมอนรองกระดูกปลิ้น
นพ.พร นริศชาติ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ ให้ข้อมูลว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง คือ เนื้อเยื่อที่มีลักษณะด้านนอกคล้ายยางรถยนต์ ส่วนด้านในจะมีลักษณะคล้ายวุ้นอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว ทำหน้าที่เป็นข้อต่อรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง และมีหน้าที่ช่วยรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ยืน กระโดด บิดตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นของการเคลื่อนไหว
นพ.พร นริศชาติ
สำหรับโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น เป็นโรคที่พบได้ในคนอายุน้อย และมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดมาเป็นระยะเวลานาน เช่น การยกของหนัก เล่นกีฬาบางประเภทที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ ๆ ทำให้กลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกปลิ้น ตั้งแต่อายุยังน้อยได้ แต่สิ่งที่เราอาจจะไม่เคยรู้ตัวเลยว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหมอนรองกระดูกปลิ้นได้ คือ การออกกำลังกายที่ผิดวิธี
“แม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและสุขภาพที่ดีในระยะยาว แต่หากออกกำลังกายหนักเกินไป หรือ ไม่ระมัดระวังในการเคลื่อนไหว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ซึ่งหนึ่งในอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยจากการออกกำลังกายหนักเกินไป คือ ‘หมอนรองกระดูกปลิ้น’ หรือที่เรียกว่า ‘หมอนรองกระดูกเคลื่อน’ ซึ่งเป็นอาการที่หมอนรองกระดูกสันหลัง ที่เกิดจากการยุบตัวหรือเคลื่อนจากตำแหน่งที่ปกติ”
นพ.พร กล่าวว่า หมอนรองกระดูกสันหลัง มีหน้าที่สำคัญในการทำหน้าที่เป็นตัวกันกระแทกระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ และช่วยในการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังอย่างราบรื่น แต่เมื่อเกิดแรงกดดัน หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น การยกน้ำหนักหนักเกินไป หรือ การทำท่าทางออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือ ปลิ้นออกจากตำแหน่ งที่มันควรอยู่ ซึ่งสามารถกดทับเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลังได้ ทำให้เกิดอาการเจ็บปวด หรือ แม้กระทั่งการเสื่อมสภาพของเส้นประสาท ในบางกรณี
ทั้งนี้ หลาย ๆ การออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงมาก เช่น การยกน้ำหนัก หรือ การทำท่าทางที่ต้องใช้แรงกด หรือแรงดึงมาก ๆ อาจทำให้กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกได้รับแรงกระแทกหนักเกินไป โดยเฉพาะหากไม่คำนึงถึงท่าทางที่ถูกต้อง เช่น การยกน้ำหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและแรงเกินไป
นอกจากนี้ การออกกำลังกายที่ต้องทำซ้ำ ๆ เช่น การวิ่งระยะไกล หรือการกระโดดก็อาจทำให้เกิดการสะสมแรงกระแทกต่อกระดูกสันหลังในระยะยาวได้ ซึ่งอาจทำให้หมอนรองกระดูกเกิดการยุบตัวและเคลื่อนที่
นพ.พร ระบุว่า การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ต้องระมัดระวังเพื่อช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดการบาดเจ็บจากหมอนรองกระดูกปลิ้น โดยสามารถทำได้ ดังนี้
1.การวอร์มร่างกาย (Warm-up) : การวอร์มร่างกายก่อนการออกกำลังกายสามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อและกระดูก ช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ เช่น การยืดกล้ามเนื้อ หรือการทำกิจกรรมเบาๆ ก่อน :
2.ฝึกท่าทางที่ถูกต้อง : การฝึกท่าทางที่ถูกต้องในการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การยกน้ำหนักควรทำท่าทางให้เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดแรงกระแทกที่มากเกินไป
3.ค่อย ๆ เพิ่มน้ำหนัก : ไม่ควรยกน้ำหนักหรือทำการออกกำลังกายที่หนักเกินกำลังในทันที ควรเริ่มต้นจากน้ำหนักที่สามารถควบคุมได้ และเพิ่มขึ้นตามความสามารถ
4.การพักผ่อนและฟื้นฟู : ให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนหลังการออกกำลังกายหนัก เพื่อช่วยในการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อและหมอนรองกระดูก
5.ฟังสัญญาณจากร่างกาย : หากรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายระหว่างการออกกำลังกาย ควรหยุดทันที และให้ร่างกายได้พักฟื้น หากอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบ
สำหรับ วิธีบรรเทาอาการด้วยตนเองเบื้องต้น คือ
-ควรพักการใช้งานส่วนที่ปวด : หยุดกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด และค่อย ๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อลดอาการตึง
-รับประทานยาแก้ปวด ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหลังรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัด มีอาการปวดรุนแรงขึ้นหลังการรักษามีอาการชา หรือ อ่อนแรงตามร่างกาย ควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการวินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการวินิจฉัยจากการถ่ายภาพรังสี (X-ray) ร่วมกับการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
ผ่าตัดแบบ MIS ด้วยกล้อง Endoscope
ทั้งนี้ ในส่วนของวิธีการรักษาหมอนรองกระดูกปลิ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาวิธีการรักษา โดยการฉีดยาระงับการอักเสบ ที่เหมาะสำหรับกรณีที่หมอนรองกระดูกเริ่มปูดนูนหรือปลิ้นออกมาไม่มาก , การจี้ด้วยเลเซอร์ ใช้ในกรณีที่หมอนรองกระดูกปลิ้นเล็กน้อย หรือ การผ่าตัดส่องกล้อง สำหรับกรณีที่หมอนรองกระดูกปลิ้นมากและกดทับเส้นประสาท โดยอาจใช้เทคนิคการผ่าตัดแบบ MIS (Minimally Invasive Surgery) ที่มีข้อดีหลายประการ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เจ็บตัวน้อย ปลอดภัยสูงฟื้นตัวเร็ว (ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายใน 1 คืน) เทคนิคนี้ใช้กล้องเอ็นโดสโคปที่มีความแม่นยำสูง ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นและรักษาเฉพาะจุดที่มีปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.พร กล่าวว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ แต่หากใช้ร่างกายหนักเกินไป หรือการทำท่าทางที่ไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่หมอนรองกระดูกสันหลัง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง หรือ ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงตามมาได้
โรงพยาบาลเอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ปรึกษา โทร.02 034 0808
//....................