FOOD IS REAL !!! ปลุก ‘ครัวไทย’ กู้ ‘วิกฤติโลก’

FOOD IS REAL !!! ปลุก ‘ครัวไทย’ กู้ ‘วิกฤติโลก’

 

              ปี 2022 “สังคมไทย” และ “สังคมโลก” ได้ยินคำว่า “วิกฤติอาหาร” มากขึ้นและบ่อยขึ้น

 

              โดยเฉพาะหลังการมาเยือนของ “โควิด-19” อย่างยาวนาน และซ้ำเติมด้วย “ภาวะสงคราม” ระหว่างประเทศต่อประเทศ ที่ส่งผลกระทบถึงทั้งโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

              ความจริงที่น่าตกใจคือ “วิกฤติอาหาร” อาจหนักหนาและสาหัสกว่า “วิกฤติพลังงาน” อีกหลายเท่าตัวนัก

 

              รายงานของ Global Report on Food Crises 2022” ระบุว่า ประชากรเกือบ 193 ล้านคนใน 53 ประเทศ กำลังเผชิญกับปัญหา “ความไม่มั่นคงด้านอาหาร” อย่างเฉียบพลัน

 

              ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา เกือบ 40 ล้านคน และความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น ก็อาจเรียกได้ว่า เข้าขั้นวิกฤติ อันเป็น “สัญญาณเตือน” ถึง “คลื่นลูกใหญ่” ที่กำลังจะตามมา

 

 

 

              “เศรษฐกิจโลก” กำลังถูกท้าทายอย่างหนัก เช่นเดียวกับ “เศรษฐกิจไทย”

 

              “โลก” กำลังเข้าสู่ “วิกฤติอาหาร” และไม่เว้นแม้แต่ “ไทย” ที่กำลังเข้าสู่ “วิกฤติอาหาร” เช่นกัน

 

              “องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ” (Food and Agriculture Organization of the United Nations) หรือ FAO” กำหนดให้ วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็น “วันอาหารโลก”

 

              “วันอาหารโลก” มีขึ้น เพื่อระลึกถึงการก่อตั้งของ FAO” ในปี ค.ศ.1945

 

              โดยมี “วัตถุประสงค์” เพื่อสร้างความตระหนักถึง “ความสำคัญ” ของ “อาหาร” ให้แก่ประชาชน และสร้าง “ความรู้ – ความเข้าใจ” ถึง “ปัญหา” ใน “การจัดการ” และ “การกระจายอาหาร”

 

              รวมทั้งมี “วัตถุประสงค์” ที่จะยกระดับโภชนาการทั่วโลก , เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในทุกระดับ , เพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากรในชนบท และสนับสนุนการเติบโตของ “เศรษฐกิจโลก”

 

              ตลอดจนให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ในการเปลี่ยนนโยบายทางการเกษตร

 

              และช่วยเหลือทุกภูมิภาค จากสถานการณ์ความอดอยาก

 

 

 

              “ประเทศไทย” ได้เข้าเป็นสมาชิกของ FAO” เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2490 โดยเป็นสมาชิกลำดับที่ 45 จากสมาชิกปัจจุบันทั้งสิ้น 190 ประเทศทั่วโลก

 

            วันนี้ ทั้ง “โลก” และ “ไทย” กำลังเข้าสู่ “วิกฤติอาหาร” และกำลังเผชิญกับปัญหา “ความไม่มั่นคงด้านอาหาร”

 

              “ความมั่นคงด้านอาหาร” (Food Security) ตามที่ FAO” กำหนด มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ข้อ คือ การมีอาหารเพียงพอ (Food Availability) , การเข้าถึงอาหาร (Food Access) , การใช้ประโยชน์จากอาหาร (Food Utilization) และ การมีเสถียรภาพด้านอาหาร (Food Stability)

 

              วันนี้ ทั้ง “โลก” และ “ไทย” กำลังเข้าสู่ “วิกฤติอาหาร” และกำลังเผชิญกับปัญหา “ความไม่มั่นคงด้านอาหาร”

 

              เป็นความจริงว่า อุตสาหกรรม เทคโนโลยี นวัติกรรม และ ฯลฯ นำมาซึ่ง “ความทันสมัย” และ “เม็ดเงิน” อันเป็นรายได้มหาศาล แต่ก็เป็นความจริงเช่นกันว่า “อาหาร” คือ “ปัจจัยพื้นฐาน” และเป็น “ความมั่นคง” ที่สำคัญอย่างยิ่ง

 

              อย่าลืมว่า “รากเหง้า” ของ “สังคมไทย” คือ “สังคมเกษตรกรรม” ที่เข้มแข็งอย่างยิ่ง

 

              “โจทย์ใหญ่” ของเรามีเพียงว่า ทุกภาคส่วนจะระดม “สรรพกำลัง” อย่างไร ในการ “หยั่งราก” และ “ต่อยอด” ใน “วิถีทางของเกษตรกรรม” ที่ทั้ง “ร่วมสมัย” และ “นำสมัย” เพื่อเปลี่ยน “วิกฤติ” ให้เป็น “โอกาส”

 

            และถ้าเราทำได้ “ครัวไทย” ก็จะสามารถกอบกู้ ทั้ง “วิกฤติไทย” และ “วิกฤติโลก” ได้อย่างแน่นอน !!

 





สแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อดาวน์โหลดอ่านทั้งฉบับ


//........................

              CR : DAD MAGAZINE ความสุขในศูนย์ราชการ

//........................