‘ความเชื่อมั่น’ ดัชนีชี้วัด ‘เศรษฐกิจ’

ความเชื่อมั่น ดัชนีชี้วัด เศรษฐกิจ

 

         ในทางทฤษฎีแล้ว ไม่ว่าอะไรก็ย่อมต้องมี “ตัวชี้วัด” เพื่อประเมินผลทั้งสิ้น

 

         ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ก็เพื่อสามารถคาดการณ์ วางแผน ตลอดจนปรับเปลี่ยนกระบวนการ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มุ่งหวังในท้ายที่สุด

 

         “โครงสร้างเศรษฐกิจ” ก็เช่นเดียวกัน เครื่องชี้วัดภาวะเศรษฐกิจมหภาค อยู่บนพื้นฐานของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP), ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) และข้อมูลทางสถิติอื่น ๆ

 

สิ่งเหล่านี้ สามารถใช้ในการอธิบาย “สถานการณ์” และ “ประสิทธิภาพ” ของ “เศรษฐกิจ” ของ “ประเทศ”

             

“องค์ประกอบ” ของ “ดัชนีชี้วัด” ที่ว่านี้ มีหลายประการ อาทิ

             

-ตัวเลขการเติบโตของ GDP (Gross domestic product) หรือ “ผลผลิตมวลรวมของประเทศ”

         -ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index : PPI)

         -ผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production)

         -อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate)

-อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate)

-อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)

         -อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

         -ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

         -ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ

         -ตัวเลขการซื้อสินค้าทุน , ยอดขายเครื่องจักร , ตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน และ ฯลฯ

 

         

    

ทั้งหลายทั้งปวงที่ว่านี้ คือ “ฐานข้อมูลสำคัญ” ในการ “ประมวลผล” เพื่อ “วิเคราะห์” แยกแยะองค์ประกอบและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผล ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม

 

และไม่ว่าจะเป็น “ด้านบวก” หรือ “ด้านลบ”

 

ความจริงก็คือ ดัชนีชี้วัด “เศรษฐกิจ” ดำเนินไปบน “ปัจจัย” ที่ “อ่อนไหว” และ “เปราะบาง” อย่างยิ่ง

 

นี่เพราะไม่ว่าอะไรก็ตาม ล้วนสามารถทำ “ปฏิกริยา” ได้อย่างฉับพลันและทันที

           

ปรากฏการณ์ “โควิด-19เป็น “รูปธรรม” ที่ชัดแจ้งประการหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อ “ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม” ทั้งต่อ “โลก” และต่อ “เรา”

             

นี่เป็น “ปัจจัยลบ” ที่ทำให้ “เศรษฐกิจโดยภาพรวม” ดำดิ่งอยู่ใน “ขาลง” อย่างต่อเนื่อง

             

กระทั่งการมาถึงของ “วัคซีน โควิด-19 ที่เป็นเสมือน “ปัจจัยบวก” ที่เข้ามาเป็น “ตัวช่วย” ได้อย่างทันท่วงที

           

คำถามก็คือ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน ก่อนการมาถึงของ “ปัจจัยบวก” ในทุกครั้ง “โลก” และ “เรา” อาศัยอะไร จึงไม่ล่มสลายและพังทลายลงไปโดยสิ้นเชิง

             

คำตอบมีเพียงสั้น ๆ คือ “ความเชื่อมั่น”

           

เหมือนเช่นที่ “เออร์เนสต์ เฮมิ่งเวย์” บอกไว้ว่า “มนุษย์อาจถูกทำลายได้ แต่ไม่อาจพ่ายแพ้” นั่นเอง !!!

 








สแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อดาวน์โหลดอ่านทั้งฉบับ 

 

//.........................

CR : DAD MAGAZINE ความสุขในศูนย์ราชการ

//.........................