“ม.ธรรมศาสตร์” เจ๋ง!! คว้ารางวัลระดับโลก “รางวัลมหาวิทยาลัยยั่งยืนนานาชาติ”

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้ารางวัล “ISCN 2020 Awards” จากผลงาน  “การลดขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้ง” No more single-use plastics เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย 4 แห่งจาก 4 ประเทศทั่วโลก และเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

 

          ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้จัดการโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เผยแพร่ภาพและข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “Prinya Thaewanarumitkul” เกี่ยวกับ การได้รับรางวัล “ISCN 2020 Awards” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากผลงาน “การลดขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้ง” No more single-use plastics โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

          ครั้งแรกของมหาวิทยาลัยไทย

          ที่ได้ #รางวัลมหาวิทยาลัยยั่งยืนนานาชาติ

          ISCN 2020 Awards Ceremony

 

          การลดขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้งอย่างจริงจังทำให้ #มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลในปีนี้ โดยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย 4 แห่งจาก 4 ประเทศที่ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย!

 

          เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนนานาชาติ หรือ International Sustainable Campus Network (ISCN) ซึ่งเป็นเครือข่ายของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกที่ร่วมกันในการเปลี่ยนแปลงมหาวิทยาลัยจากแบบเดิมที่สร้างองค์ความรู้และบุคลากรไปสนับสนุนการพัฒนาแบบทำลายล้างธรรมชาติ ให้เป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืน และมุ่งไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

          ISCN มีการมอบรางวัล ISCN Awards ทุกปี จำนวน 4 รางวัล

          สำหรับในปี 2020 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับรางวัลด้าน Cultural Change for Sustainability (การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมเพื่อความยั่งยืน) จากการดำเนินการเรื่องการลดขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastics)

 

          การมอบรางวัลในปีนี้จะมอบทาง #ออนไลน์

          โดยจะมีขึ้นในวันพฤหัสที่ 14 พฤษภาคม 2563

          เวลา 20.00 - 22.00 น. (เวลาประเทศไทย)

 

          #กำหนดการ (เริ่ม 20.00 น.)

          กล่าวนำโดย Keynote Speaker:

          Prof. Reto Knutti แห่งมหาวิทยาลัย ETH Zurich ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

 

          จากนั้นจะเป็นการมอบรางวัลและนำเสนอมหาวิทยาลัยละ 10 นาที ดังต่อไปนี้

 

          1. No more single-use plastics

          โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

          2. Climate Framwork

          โดย Maria Djupstörm มหาวิทยาลัย Chalmers University of Technology

          และ Kristina von Oelreich มหาวิทยาลัย KTH ประเทศสวีเดน

 

          3. Lappeenranta Junior University

          โดย Kati Koikkalainen มหาวิทยาลัย LUT ประเทศฟินแลนด์

 

          4. Vision 2020: Climate Sustainability Action Plan

          โดย François Miller มหาวิทยาลัย McGill ประเทศแคนาดา

 

 

          ท่านที่สนใจสามารถร่วมรับชมและติดตามได้ทางโปรแกรมซูม ตามลิ้งค์ข้างล่างนี้ครับ

 

          https://epfl.zoom.us/j/972378967

          โดยใส่ Meeting ID: 972 378 967

 

          ขอเชิญชวนทุกท่านที่สนใจร่วมรับชมครับ นอกจากจะเป็นการลุ้นการนำเสนอของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว (คือลุ้นผม 555) ยังได้รับฟังมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอีก 3 ประเทศด้วยครับว่า เขามีความก้าวหน้าในการดำเนินการเรื่องความยั่งยืนกันอย่างไรบ้าง แล้วพบกันวันพรุ่งนี้ครับ :)

 

          รายละเอียดเพิ่มเติมติดตามอ่านได้ที่นี่ครับ 

 

https://international-sustainable-campus-network.org/awards/iscn-awards-2020/?fbclid=IwAR3nZa3ZuT6XhRus0bjALNZbbqdoubkfhjTBzbFC7TPxXmcYc4lpY7kl_4g

 

  

          Cultural Change for Sustainability

          Thammasat University

          Thammasat Campus Life: No more single-use plastics

 

          Campus cultural change plays important role toward sustainability. Among many issues, Thammasat, a small city of 35,000 people, aimed at the reduction of single-use plastics. Our strategy is to begin with small actions and do less for more.

 

          Starting with encouragement in 2005, we distributed cloth bags and water bottles to freshmen. In 2015 we stepped up to create conditions with choices, such as voluntary-paid plastic bags fee in convenient stores; in 2016, price reduction for using personal cup in canteens. In the same year, we intensified the actions to campus operational change, including eliminating water bottle cap seals – extended nationwide a year later; banning of all single-use plastic bags in 2017; use of washable cups and utensils in canteens and meetings in 2018; banning of single-use plastic cups and straws in all shops and cafes in 2019. Finally, we provided campus-wide lifestyle change, ‘Thammasat Refill Shoppe’, the cool place where everyone enjoys buying food & supplies using their personal containers.

 

          Partnerships and participation are the key to our success. To accelerate changes in policy level, in 2018, we signed MOUs with major convenient stores and the members of Sustainable Campus Network of Thailand. We also let students and staffs be part of the planning and operations to make everything fun and be sure the actions can be implemented locally.

 

          For 15 years, we have integrated many strategies and actions and using our campus as a living lab for social changes.  Thammasat are heading toward the success of nurturing sustainable campus lifestyle. If Thammasat can do it, why can’t other campuses and every city?

 

https://international-sustainable-campus-network.org/awards/2020-award-winners/

 

 

CR : Facebook “Prinya Thaewanarumitkul”

https://facebook.com/prinya.thaewanarumitkul