เตรียมการไม่ทัน พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ พ.ค. นี้ จะถูกลงโทษ ไม่เป็นความจริง!!

เพจ “กฎหมายและนโยบายการสื่อสาร” แจง พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ บังคับใช้พ.ค. นี้ เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องมาตรฐาน ไม่ใช่เรื่องละเมิด การฟ้องทางปกครอง และอาญา ที่ไม่ทำตามมาตรฐาน จะยังต้องรอ ส่วนการฟ้องละเมิด สามารถฟ้องตาม ปพพ. มาตรา 420 เดิม และรัฐธรรมนูญรับรองไว้นานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องตาม พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคลฯ

 

          เฟซบุ๊ก “กฎหมายและนโยบายการสื่อสาร” เผยแพร่ข้อมูลซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติ ข้อมูลส่วนบุคคลฯ ในเดือนพฤษภาคม 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

          เตรียมการไม่ทัน พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ พ.ค. นี้ จะถูกลงโทษ ไม่เป็นความจริง!!

 

          พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯกำลังจะมีผลบังคับใช้เดือนพฤษภาคม 2563 นี้และมีคำถามสำคัญว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ยิ่งในสถานการณ์ที่มี covid-19 แบบนี้ผู้ประกอบการจะยิ่งเดือดร้อนลำบากเป็นภาระและจะไม่สามารถเตรียมการรับมือได้ โดยเฉพาะว่าจะถูกฟ้องได้หากไม่สามารถเตรียมการได้ทัน เรื่องนี้มีประเด็นต้องทำความเข้าใจเป็นข้อๆประมาณนี้

 

          1. เรื่องการถูกฟ้องคดีนั้น จะเป็นการฟ้องละเมิด ที่สามารถฟ้องได้ตาม ปพพ.มาตรา 420 อยู่เดิม และรัฐธรรมนูญรับรองไว้นานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องตาม พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ

 

          2. พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลฯ จะมีผลบังคับใช้เดือนพฤษภาคมนี้จึงมีผลในลักษณะที่กำหนดมาตรฐานของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เกือบทั้งหมดเป็นเรื่องมาตรฐาน ไม่ใช่เรื่องละเมิด การฟ้องทางปกครอง และอาญา ที่ไม่ทำตามมาตรฐาน จะยังต้องรอ สคส. อีกระยะหนึ่งอยู่ดี น่าจะประมาณอีก 1 ปี

 

          3. สำหรับประชาชนทั่วไปจะไม่มีภาระอะไรตามกฎหมาย แต่จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเพราะเป็น data subjects ที่กฎหมายต้องการคุ้มครอง ไม่ใช่เรื่องถ่ายรูปในที่สาธารณะแล้วจะมีความผิดได้ และกิจกรรมทั้งหมดที่ทำส่วนตัว ได้รับข้อยกเว้นตามกฎหมายอยู่แล้วครับ

 

          4. ขณะนี้ สคส. (สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) อยู่ระหว่างดำเนินการสรรหากรรมการ และเตรียมการสำนักงานเพื่อออกกฎระเบียบลำดับรองต่างๆ ซึ่งกฎต่างๆ ก็น่าจะไปในทางหลักเกณฑ์และวิธีการมารองรับการทำงาน ซึ่งกฎหมายก็ให้เวลาอีก 1 ปี

 

          5. สำหรับปัญหา Covid-19 กับประเด็นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยิ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีโอกาสละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลน้อยลง เพราะกิจกรรมการตลาดจะลดลงมาก การทำ consent ต่างๆ เกิดขึ้นได้น้อย และการเข้าถึงข้อมูลก็ต้องผ่าน social media หรือ app ต่างๆ ซึ่งเค้าก็มีมาตรการรองรับกันอยู่แล้ว ปัญหาที่ต้องห่วงคือ กรณีเราเก็บข้อมูลเองมากกว่า

 

          6. Covid-19 จึงน่าจะเป็นช่วงเวลาที่เราจะเตรียมการได้ง่ายขึ้น เพราะกิจกรรมหลายอย่างหยุดลง ทำให้จัดการได้ง่าย หลายองค์กรก็ใช้เวลานี้ในการเตรียมการเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว

 

          7. กรณีต้องการทำ app ต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพช่วงนี้ เอกชนต้องระมัดระวังให้มาก โดยเฉพาะว่าเป็นสถานการณ์พิเศษ อาจร่วมมือกับหน่วยงานที่มีภารกิจมารับรองเพื่อใช้ฐาน public tasks และ substantial public interest และโดยสภาพตอนให้ติดตั้ง app ก็ต้องมีการแจ้งขอ explicit consent กรณีที่ไม่จัดเก็บข้อมูลมาส่วนกลาง แต่เก็บข้อมูลไว้ที่อุปกรณ์ของผู้ใช้เอง ก็จะมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.blognone.com/node/115864

 

          8. กรณีต้องการทำ app เพื่อธุรกิจเรื่องอื่นๆ ก็ยังคงทำได้ต่อไป เพียงแต่ทำตามข้อแนะนำในข้อต่อไป โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัย

 

          9. ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นเรื่องมาตรฐานที่กฎหมายเขียนไว้ชัดเจน จึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องรอให้สำนักงานฯมาออกกฎให้ทำอะไรยังไง และถ้าออก ก็ไม่สามารถออกให้แตกต่างจากมาตรฐานสากลได้ GDPR, ISO27701, NIST Privacy Framework, etc.

 

          10. ทีนี้มาตรฐานที่ต้องทำมีอะไรบ้าง ในระยะนี้คำแนะนำคือ

          a. [มาตรา 23] การแจ้งการประมวลผลซึ่งทำกันแล้วอย่างกว้างขวางด้วย สิ่งที่เรียกว่า privacy policy

          b. [มาตรา 24] ซึ่งในการแจ้งนี้ หลักข้อนึงคือการอธิบายการทำงานได้ด้วยฐานการประมวลข้อมูล

          c. [มาตรา 19] กรณีที่ต้องขอความยินยอมก็ต้องมี consent form

          d. [มาตรา 37] มาตรการเพื่อความปลอดภัยของข้อมูล หลักๆคือ อย่าปล่อยให้ข้อมูล ไม่มี Access Control

          e. [มาตรา 39] มีการบันทึกกิจกรรมการประมวลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำกันแล้วอย่างกว้างขวาง ที่เรียกว่า ROP (Record of Processing Activities)

 

          11. สิ่งที่แนะนำในข้อ 10 ทั้งหมดผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง และดูตัวอย่างได้มากมายในอินเทอร์เน็ต เว็บดีๆที่แนะนำ เช่น

          a. https://ico.org.uk/global/privacy-notice/

          b. https://www.scb.co.th/…/personal-banking/privacy-policy.html

          c. https://www.apthai.com/th/privacy-policy

          d. http://www.ais.co.th/privacypolicy/th/

 

          12. สรุปว่าควรใช้เวลานี้เตรียมการเพราะ Covid-19 มาช่วยให้เราทำอะไรได้ง่ายขึ้น เรื่องข้อกังวลอื่นๆที่กลัวโดนฟ้อง กลัวจะทำไม่ทันจะถูกลงโทษ ไม่เป็นความจริงครับ สำหรับคำอธิบายต่างๆ ท่านสามารถอ่านได้เพิ่มเติมจาก TDPG2.0 https://www.law.chula.ac.th/…/20…/10/TDPG2.0-C5-20191009.pdf และเอกสารมากมายที่มีเผยแพร่ทั่วไป

 

 

#dataprotection

#guidelines

#covid19

 

CR : Facebook “กฎหมายและนโยบายการสื่อสาร”
https://www.facebook.com/thaicommlawnpolicy