‘สิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่เล็ก’ : ‘แพรวจิตบำบัด’

สิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่เล็ก’ : ‘แพรวจิตบำบัด

 

สิ่งเล็ก ๆ ที่ว่านี้ก็คือ หน่วยครอบครัว ซึ่งถือว่า เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม แต่หน่วยเล็ก ๆ นี้กลับมีอิทธิพลอย่างมากในการสร้างหน่วยที่ใหญ่ที่สุดในสังคม และแม้กระทั่งกับโลกเรา กล่าวคือหน่วยครอบครัวมีพลังสามารถทำให้เกิดทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวของการเป็นมนุษย์ ทั้งความสุข ความทุกข์ แรงบันดาลใจ และความหดหู่ในการดำเนินชีวิต และอื่น ๆ ต่างก็มีผลจากหน่วยครอบครัวทั้งสิ้น

 

อาจมีข้อถกเถียงกันว่า หน่วยสถาบันการศึกษา และ สถาบันการปกครองมิใช่หรือ ที่มีบทบาทสำคัญต่อความเป็นมนุษย์และสังคม ซึ่งอันที่จริงก็เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อวิเคราะห์​ลึกลงไป หากนักการเมือง และ ผู้บริหารโรงเรียนไม่ถูกบ่มเพาะความเป็นคนที่มีคุณสมบัติที่มีคุณค่าจากครอบครัวแล้วไซร้ สังคมจะเป็นเช่นไร

 

 

ในโพสนี้จะขอพูดถึงปัญหาของการสร้างคน ที่มาจากบทบาทของผู้ใหญ่ในบ้านค่ะ

 

- ลูกต้องประสบความสำเร็จ ลูกต้องได้ดีที่สุด พ่อแม่วางแผนให้หมดแล้ว1 2 3 4 ลูกควรต้องดำเนินตาม

- ปล่อยให้ลูกอยู่เพียงลำพังบ่อยๆตั้งแต่เล็ก เพราะพ่อแม่ต้องหาเงิน เงินสำคัญกว่าลูกต้องเข้าใจ

- พูดในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความรู้สึก เพื่อไม่ให้ลูกเหลิงได้ใจ ลูกจะได้มีความทะเยอทะยาน

- รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ยังได้ผลเสมอ เมื่อลูกกลัวลูกจะไม่ทำอะไรที่สั่งห้าม

- เงินบันดาลสุข อะไรที่อยากได้ เบื้องหลังต้องใช้เงินก็จะได้สิ่งนั้นไม่ยาก เชื่อว่าเงินจะได้มาซึ่งเกียรติยศ ชื่อเสียง ใบเกียรติคุณ สถานภาพทางสังคมหรือแม้แม้กระทั่งเรื่องของการศึกษา

- เชื่อว่าต้องใกล้ชิดกับลูกให้มากที่สุด เป็นพ่อแม่ต้องรู้ทุกเรื่องของลูกไม่ว่าลูกจะโตแค่ไหน

- เชื่อว่าพ่อแม่เกิดก่อนจึงมองออกทุกอย่าง ลูกต้องเชื่อและดำเนินตาม เพราะพ่อแม่ทำแบบนี้สำเร็จมาแล้ว ลูกต้องให้ความเคารพพ่อแม่ เด็กต้องเคารพผู้ใหญ่

- เชื่อว่า ลูก เลี้ยงแบบไหนก็ได้ เดี๋ยวมันก็โตและรู้เอง พ่อแม่เอาเวลาไปดูแลตัวเอง หาความสุขให้ตัวเองดีกว่า

- ปัญหาพ่อแม่แยกทาง เข้ากันไม่ได้ ทะเลาะเบาะแว้งเรื่อยๆ ทำให้เวลาและกำลังใจของการสร้างคนที่มีคุณภาพร่วมกันไม่เกิดขึ้น

 

บทบาทของพ่อแม่ที่มาจากความคิด ค่านิยม ความเชื่อเหล่านี้ มักจะบ่มเพาะปัญหาอยู่ภายในจิตใจของเยาวชนไม่น้อย แม้ว่าพวกเขาเมื่อโตขึ้นจะพบทางที่เดินเองได้ แต่แผลเป็นในใจ ก็ยากที่จะลบออก สร้างความเปราะบางให้เกิดขึ้นในชีวิต

 

“แพรวจิตบำบัด” เล็งเห็นปัญหาด้านนี้ จึงอยากรณรงค์ให้ความรู้ด้านจิตวิทยาเพื่อการดูแลจิตใจตนเองให้เข้มแข็งขึ้น และเพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงความใส่ใจในความสัมพันธ์ระหว่างกัน เริ่มจากหน่วยเล็ก ๆ ของเราก่อน แม้ว่า รุ่นก่อน ๆ ความรู้ด้านจิตวิทยาและงานวิจัยต่าง ๆ ยังมีไม่มากในเมืองไทย แต่ก็ยังเล็งเห็นว่า “ไม่มีคำว่าสายเกินไป”

 

แล้วควรทำอย่างไร สิ่งที่จะแนะนำต่อไปนี้ อาจดูเหมือนพูดง่าย ใช่ค่ะ พูดง่ายจริง ๆ แต่ทำยาก เพราะเราปล่อยให้วัฒนธรรมและความเชื่อบางอย่างครอบงำเรามานานจนเป็นความเคยชินไปแล้ว แต่เรื่องยากหากไม่เริ่มเลย จะยิ่งยากและเรื้อรังเข้าไปใหญ่

 

ในส่วนของพ่อแม่ ผู้ปกครอง

 

- หันมาเลี้ยงลูกแบบให้โอกาสเขาได้ลองผิดลองถูก (Trial and error) ดูไหม และให้เขาได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาความสามารถของตัวเขาเองบ้าง เปลี่ยนจากการบอกให้ทำ มาเป็น แนะแนวให้ได้คิดและเลือก

 

- แทนที่จะยึดติดกับมาตรฐานสังคม กลัวการตัดสินทางสังคม การต้องการเป็นที่ยอมรับทางสังคม หันมาสนใจในคุณค่า (Value) ของความสัมพันธ์ที่ดีดีไหม หากความสัมพันธ์ดี พลังในการดำเนินชีวิตก็จะตามมา แน่นอนเมื่อดำเนินชีวิตด้วยพลังใจ คุณภาพของใช้ชีวิตก็จะตามมา

 

- การเลี้ยงลูกให้โตไม่ยาก แต่เลี้ยงลูกให้เป็นคนนั้นยาก และต้องอาศัยความร่วมมือ พ่อแม่ร่วมมือกันผนึกกำลังทำงานเป็นทีม เล็งเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกได้ไหม เมื่อทะเลาะกันไม่ถูกใจกัน ก็พยายามใช้ทักษะความมีเหตุผลมากกว่าอารมณ์ ลดกำแพง ลดทิฐิ เพื่อสร้างมนุษย์ที่คุณทั้งสองร่วมกันให้เขาได้เกิดมา

 

- ปกป้องในสิ่งที่ควรและในเวลาที่ใช่ ในด้านศาสตร์ของNeuroscience สมองส่วนหน้าของผู้ใหญ่พัฒนาเต็มที่แล้ว (Frontal Cortex) สามารถที่จะพิจารณาใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ได้มากกว่าเด็ก การเลี้ยงดูแลลูก จึงขอให้คิดวิเคราะห์เหตุผลให้มากกว่าใช้อารมณ์ สิ่งไหนที่ควรให้เขาเผชิญและเรียนรู้เอง สิ่งไหนที่เขาต้องการการเอาใจใส่ปกป้องดูแล

 

ในส่วนของลูก ซึ่งนับว่ารุ่นนี้เป็นรุ่นที่โชคดีเพราะความรู้ทางจิตวิทยาเข้าถึง ก็ขอแนะนำน้อง ๆ ว่า

 

- ฝึกแยกตัวเองออกมาจากอารมณ์ อะไรที่ทำให้เกิดอารมณ์หรือความคิดที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ให้รู้ทัน และไม่ไปครอง ไม่ไปสวมอารมณ์นั้นไว้กับตัว พกร่มติดตัวไว้บ้าง ฝนตกให้รู้และกางใช้มันให้ทันก่อนที่ ส่วนสำคัญในสมอง Amygdala จะทำงาน และ ก่อนที่ Cortisolจะหลั่ง

 

- ใส่ใจในคุณค่า(Value)ของการกระทำ ให้มากกว่า เป้าหมาย เป้าหมายมีไว้กำหนดทิศทาง แต่คุณค่าจะทำให้เรามีแรงเดินไปได้ทุก ๆ เวลาของชีวิต

 

- เลิกสนใจใน คำวิจารณ์ และการตัดสิน จากคนที่ไม่เคยเห็นคุณค่าของเราเลย จริงที่ feedback ทำให้เราปรับและพัฒนา แต่ควรจะเลือกแหล่งที่มาของ feedback นั้นสักหน่อยค่ะ

 

หากสนใจความรู้ทางจิตวิทยา หรือต้องการปรึกษาแบบกลุ่ม สามารถติดตามได้ในไลน์แสควร์ “จิตวิทยาบำบัด” ตาม QR code ที่ให้ไว้นี้นะคะ

 

 

ร่วมเป็นกำลังใจในการทำงานเพื่อสังคมและสานต่อสิ่งดี ๆ สู่สังคมได้ด้วยการกดไลค์กดแชร์นะคะ ขอบคุณค่ะ

 

“แพรวจิตบำบัด”

 

 

//...................

หมายเหตุ : สิ่งเล็ก ๆ ที่ไม่เล็ก’: ‘แพรวจิตบำบัด’ : ‘บางกอกไลฟ์นิวส์

 

[ปรึกษาจิต+นิติเพื่อสังคม] You've been invited to the chat "ปรึกษาจิต+นิติเพื่อสังคม".

                https://line.me/ti/g2/rooEoUs9W5mKkJUxuCFPKg     

คอมมูนิตี้นี้ ให้อิสระในการแสดงความคิดเห็นในทุก ๆ แง่มุม และเปิดพื้นที่สำหรับทุกท่าน ได้แสดงความรู้สึกส่วนตัว โดยความร่วมมือของผู้ชำนาญด้านจิตศาสตร์และนิติศาสตร์คอยรับฟัง และให้คำแนะนำสำหรับท่านที่ต้องการ

 

                เพจ “รักษาใจสู่สมดุล”

https://www.facebook.com/รักษาใจสู่สมดุล-Mind-Balance-Therapy-1525590614237527/

 

//...................