อ่าน “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” ชำแหละ “งบฯ สิ่งแวดล้อม 65”

“วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” โพสต์เฟซบุ๊ก แจงยิบ งบประมาณ ปี 2565 ของรัฐบาล ด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% งบวิจัยหั่นเหี้ยนเหลือศูนย์

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า “วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล” ผู้ผลิตสารคดี พิธีกร และนักเขียน บุตรชายของ “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” ศิลปินแห่งชาติ และ “จิระนันท์ พิตรปรีชา” นักเขียนรางวัลซีไรต์ ได้เผยแพร่ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

 

           เขียนไปโกรธไป งบสิ่งแวดล้อมปี 65 ครับ

 

           งบลดลงเท่าไหร่

           - งบประมาณรัฐบาลด้านสิ่งแวดล้อม ลดลง 47.14% จาก 1.6 หมื่นล้าน มาเป็น 8.5 พันล้าน

           - คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ลดจาก 0.49% ของงบประมาณทั้งหมด มาเป็น 0.275 % [ถ้าเทียบกับ EU งบประมาณสิ่งแวดล้อมจะอยู่ที่ประมาณ 0.70%]

           - 5 ปีที่ผ่านมา งบประมาณสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาตลอด ปีนี้ลดลงอย่างน่าตกใจ

           - งบกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดลงจาก 3หมื่นล้าน เป็น 2.93 หมื่นล้าน ลดลงประมาณ 3.44% ไม่ได้ลดลงเยอะมาก [แต่ก็สะท้อนว่างบในกระทรวงทรัพย์ มีเยอะกว่างบสิ่งแวดล้อมเกือบสามเท่า ถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง ? เป็นงบบุคลากรเยอะขนาดไหน เอาไปใช้โครงการที่ได้ผลเยอะขนาดไหน ?] 

 

           วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่รอการแก้ไข

 

           - ขยะพลาสติกลงทะเล (ประเทศไทยติด top 10 โลก)

           - ไฟป่า

           - มลพิษทางอากาศ + PM2.5

           - การกัดเซาะชายฝั่ง

           - วิกฤติน้ำโขง

           - เราติด top 10 ประเทศที่มีความเสี่ยงจาก Climate change มากที่สุดในโลก [อิงจาก Global Climate Risk Index 2021 โดย germanwatch.org]

 

           งบที่ตัดไป มีอะไรบ้าง

 

           - [ขอบคุณข้อมูลจาก รศ. ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ / เพจ นักสิ่งแวดล้อม Environmentalist ที่ช่วยสรุปมาให้นะครับ

 

           - การกำจัดของเสีย: 1.6 พันล้าน (2562) --> 787 ล้าน (2565) : ปัญหาขยะเรา ตอนนี้วิกฤติมาก มีแต่บ่อขยะที่จัดการไม่ถูกต้องเต็มประเทศ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ได้มาตรฐานก็มีอยู่นิดเดียว ระบบแยกขยะโดยภาครัฐก็ไม่มี [ณ ตอนนี้กระทรวงทรัพฯไม่ได้ดูเรื่องขยะ แต่เป็นมหาดไทย ที่ให้งบผ่านองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่ต้องยื่นงบไปเสนอเอง ไม่มีแผนระดับชาติในการจัดการเรื่องนี้ ]

 

           - การควบคุมและกำจัดมลภาวะ: 3.0 พันล้าน (2562) --> 2.3 พันล้าน (2565) : คงไม่ต้องบอกว่าปัญหาฝุ่นเราเยอะและแย่ขนาดไหน โดยเฉพาะในภาคเหนือช่วงไฟป่า [เชียงใหม่ขึ้นอันดับ 1 โลกในบางวัน] รวมถึงการบริหารงานที่ยังกระจัดกระจายตามกระทรวงต่างๆนาๆมากมาย (มหาดไทดูจราจร / อุตสาหกรรมดูโรงงาน / กระทรวงทรัพฯดูป่าสงวนและอุทยาน / สาธารณสุขดุการก่อมลพิษเป็นกรณีๆไป) Clean air Act เมื่อไหร่เราจะมี / และกรมควบคุมมลพิษเมื่อไหร่จะมีอำนาจมากกว่าแค่ "ให้ข้อเสนอแนะกับออกความเห็น" เสียที อยากได้แบบ EPA [environmental protection agency] ของอเมริกา

 

           - การรักษระบบนิเวศวิทยาcละภูมิทัศน์ 3 พันล้าน (2564) ---> 2.6 พันล้าน (2565)

 

           - การวิจัย: 907 ล้าน (2562) --> 0 บาท : ไม่เหลือเลยครับ T T…. (ของปี 64 ก็เป็น 0 เช่นกัน)

 

           - การสิ่งแวดล้อมอื่น: 8.4 พันล้าน (2564) --> 1.7 พันล้าน (2565) : ลดลง 5 เท่า

 

           - รายจ่ายลงทุน: 12.0 พันล้าน (2564) --> 4.9 พันล้าน (2565)

 

           การจัดอันดับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ

 

           - คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยในภาพรวม อันดับ 78 จาก 180 ประเทศ [ส่วน GDP เราอยู่อันดับ 26 ในปี 2020]

           - คุณภาพอากาศโดยรวม อันดับ 85 จาก 180 ประเทศ

           - ฝุ่นพิษ PM2.5 อันดับ 88 จาก 180 ประเทศ

           - มลพิษโอโซนภาคพื้นดิน อันดับ 102 จาก 180 ประเทศ

           - การจัดการขยะ อันดับ 84 จาก 180 ประเทศ

           - ความไม่ปลอดภัยจากน้ำที่ดื่มกิน อันดับ 99 จาก 180 ประเทศ

           - การบำบัดน้ำเสีย อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ

           - ทรัพยากรน้ำ อันดับ 97 จาก 180 ประเทศ

           - ระบบนิเวศ อันดับ 101 จาก 180 ประเทศ

           - ความหลากหลายทางชีวภาพ อันดับ 114 จาก 180 ประเทศ 

 

           แล้วงบที่ได้ เอาแผนจะเอาไปทำอะไรบ้าง [สรุปจากการอภิปรายของคุณนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.]

 

           ปัญหาภาพรวม

           - ตัวชี้วัดของรัฐตอนนี้ ไม่ได้ผลในการชี้วัด ไปทำ survey ถามชาวบ้านในพื้นที่ว่าพึงพอใจไหม มากกว่ามีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและเป็นวิชาการ

           - งบประมาณที่ได้น้อยมาก ไม่พอจะตอบโจทย์ที่รัฐบาลเป็นคน set เองด้วยซ้ำ 

 

           ตัวอย่างการใช้งบ

 

           - งบประมาณตั้งรับเรื่องโลกร้อน 1.1 พันล้านบาท [900 ล้าน [80.6%] ให้กรมอุตุ ไปซื้อเครื่องมือวัดอากาศอัตโนมัติ / เครื่องวัดลมเฉือน เพื่อการแจ้งเตือน ไม่ใช่เพื่อการแก้ปัญหา /เหลือ 15.4% ให้กระทรวงทรัพฯ ]

           - Comment: จริงๆเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับน้ำท่วม ฝนผิดฤดูกาล ปลาหมดทะเล แหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม ความเสียหายมันเยอะมาก ได้งบแค่นี้

 

           - เรื่องแก้ปัญหากัดเซาะทะเลชายฝั่ง + จัดการบริหารทรัพยากรทางทะเล

           - โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง 1,378.7428 ล้านบาท เป็น 57 โครงการ [ผ่านสามกรม กรมโยธาฯ/กรมเจ้าท่า/กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง]

           - ส่วนใหญ่เป็นของกรมโยธาฯ 53 โครงการทั้งที่ต่อเนื่องและทำใหม่ เป็นกำแพงกันคลื่นทั้งสิ้น !

           - งบจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมอีก 175 ล้านบาท

           - Comment: ตอนนี้กำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA เลยกลายเป็นเอะอะอะไรก็ทำกำแพง เพราะทำง่าย โดยไม่ดูความเหมาะสมของพื้นที่ บางพื้นที่ก็นำไปสู่การกัดเซาะของชายหาด เช่นที่หาดม่วงงาม

 

           - งบให้กระทรวงพลังงาน 1.5 พันล้านให้พัฒนาพลังงานสะอาด แต่

           - 500 ล้านถูกใช้เป็นเงินอุดหนุนการผลิตพลังงานจากน้ำมันปาล์มดิบ ของ กฟผ. ซึ่งน้ำมันปาล์มนั้นขึ้นชื่อเรื่องทำลายป่าและสร้างมลพืษ ซึ่งสุดท้ายก็ปล่อย Carbondioxide เหมือนกัน

           - Comment: พลังลม Solar EV เมื่อไหร่จะมาเต็มเสียที ประเทศอื่นเขาไปถึงไหนกันแล้วในเรื่องนี้ 

 

 

           สรุป

 

           ช่วงหลายปีมานี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสุขภาพอย่างชัดเจน รวมถึง COVID-19 ซึ่งในแง่หนึ่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน และไม่ว่าโควิดจะหนักหนาขนาดไหน บอกได้เลยว่าโควิดนี้เผาหลอก แต่ตอนโลกร้อนมาเต็มนี้ เผาจริงแน่นนอน ลองคิดภาพโลกที่ฤดูกาลรวนจนปลูกอะไรไม่ได้เลย พายุหนักมาปีละหลายครั้งจนโครงสร้างพื้นฐานเสียภายทั้งระบบ โลกที่อากาศสกปรกจนไม่สามารถหายใจได้ด้วยปอดเปล่าๆอีกต่อไป

 

           แทนที่จะปฏิบัติต่อเรื่องสิ่งแวดล้อมเหมือนเป็นเรื่องไม่จำเป็น ที่สามารถลดงบครึ่งหนึ่งเมื่อไหร่ก็ได้ จริงๆมันควรจะเข้าไปอยู่ในทุกๆมิติของการบริหารประเทศได้แล้ว ตั้งแต่ความมั่นคง เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุข จนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นฐานของทุกๆมิติของสังคม และเราเองถึงแม้ไม่ได้เป็นประเทศที่ปล่อยคาร์บอนสูงสุด แต่เราเองเป็นหนึ่งในประทศที่จะได้รับผลกระทบสูงสุด และผู้นำเองก็มองการไกลเห็นเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่เอาเงินไปซื้อรถถังเรือดำน้ำ

 

           และอย่างที่เราเห็นจากโควิด พอภัยพิบัติธรรมชาติมา คนจนคือคนที่เสียหายสุด ไม่มีระบบ support ใดๆ ทางรัฐเองก็แทบไม่มีความสามารถดูแลกลุ่มคนที่เดือดร้อนที่สุดอย่างทั่วถึงเลย ถ้าจะมียุทธศาสตร์ชาติระยะยาวจริงๆ เรื่องพวกนี้มันหายไปไหนหมด

 

           ถ้าถึงคราวระบบนิเวศของโลกไม่ไหวขึ้นมาจริงๆ เรื่องอื่นๆมันจะดูไม่สำคัญไปเลย นี่คือวิกฤติที่มนุษย์เพิ่งเคยต้องเจอเป็น Generation แรกตั้งแต่เราอยู่บนโลกนี้มา แล้วเดิมพันสูงมาก คือถ้าทำไม่ได้คือตายกันหมด

 

           โลกเขาอยู่ต่อได้ แค่ไม่มีเราอยู่ด้วย เพราะงั้นมันไม่ใช่เรื่องรักษ์โลกหรอก รักตัวกูนี่แหล่ะ

 

           ป.ล. ใครมีข้อมูลงบเพิ่มเติมอีก ใส่ไว้ใน Comment ได้เลยครับผม

 

Ref

 

           https://www.youtube.com/watch?v=0a05p8F3Z8U

           https://germanwatch.org/en/19777

           https://statisticstimes.com/.../projected-world-gdp...

           https://prachatai.com/journal/2020/05/87560

           https://www.pcd.go.th/pcd_structure/472/

           https://siamrath.co.th/n/246320

           https://datastudio.google.com/.../8bf91139.../page/pWdOB...

           https://beachlover.net/%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B9%86%E0%B8.../

           https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=4081664865213737&id=972261292820792

           https://fb.watch/62VhvOx84s/

 

CR : Facebook Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล)”