‘ผักผลไม้นำเข้า’ VS ‘ผักผลไม้ที่ผลิตในประเทศ’ = ย่ำแย่-ไม่ปลอดภัย-เสี่ยงพอกัน !!!

ผักผลไม้นำเข้า’ VS ‘ผักผลไม้ที่ผลิตในประเทศ’ = ย่ำแย่-ไม่ปลอดภัย-เสี่ยงพอกัน !!!

 

Thai-PAN” เตือนภัย !!! สรุปชัด “ผัก-ผลไม้” ที่ “นำเข้า” และ “ผลิตในประเทศ” มีความเสี่ยงพอ ๆ กัน โดยพบการตกค้างเกินมาตรฐาน ในผักผลไม้ที่ผลิตในประเทศ 54.01% ส่วนผักผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ พบตกค้างเกินมาตรฐาน 56.1%

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)” ได้เผยแพร่ข้อความและรูปภาพ เตือนภัยถึงการตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ของผักและผลไม้ ทั้งที่นำเข้าและที่ผลิตภายในประเทศ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

 

“เมื่อเดือนที่ผ่านมา ไทยแพน เพิ่งเผยแพร่ผลการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในผักผลไม้ครั้งใหญ่ โดยสุ่มตรวจผักผลไม้ทั้งหมด 509 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ โดยประกอบไปด้วยผลไม้จำนวน 9 ชนิด ประกอบด้วย ส้มโอ ส้มแมนดารินนำเข้า ลองกอง น้อยหน่า แก้วมังกร ฝรั่ง ส้มสายน้ำผึ้ง พุทราจีน และองุ่นแดงนอก ผักจำนวน 18 ชนิด ประกอบด้วย ข้าวโพดหวาน มันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว แครอท ถั่วฝักยาว บร็อกโคลี หัวไชเท้า ผักบุ้ง มะระ กะเพรา กวางตุ้ง ผักชี มะเขือเทศผลเล็ก คะน้า ขึ้นฉ่าย พริกแดง และพริกขี้หนู และของแห้ง 2 ชนิด ได้แก่ พริกแห้ง และเห็ดหอม

 

โดยส่งตัวอย่างทั้งหมด ไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถตรวจวัดผลได้ครอบคลุมสารเคมีกำจัดแมลงและเชื้อรา (ไม่รวมสารเคมีกำจัดวัชพืช)กว่า 500 ชนิด และได้รับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO17025) ซึ่งผลปรากฎว่า พบสารพิษตกค้างในผักผลไม้เกินมาตรฐานถึง 58.7% นั้น

 

ไทยแพน ได้วิเคราะห์ผลของการตกค้างโดยละเอียด โดยจำแนกตามแหล่งที่มาของผักและผลไม้ พบว่า ผักผลไม้ที่นำเข้าและผลิตในประเทศ มีความเสี่ยงพอ ๆ กัน โดยพบการตกค้างเกินมาตรฐาน ในผักผลไม้ที่ผลิตในประเทศ 54.01% จากจำนวนผักที่ส่งตรวจทั้งหมด 274 ตัวอย่าง ส่วนผักผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ พบตกค้างเกินมาตรฐาน 56.1% จากจำนวนตัวอย่างที่ทราบว่า นำเข้ามาทั้งหมด 82 ตัวอย่าง

 

อย่างไรก็ตาม ผักผลไม้จำนวนมาก (153 ตัวอย่าง) ไม่ระบุแหล่งที่มา และไม่สามารถตรวจสอบจากผู้ขายได้ว่า มาจากแหล่งผลิตใด

 

ผักและผลไม้ที่นำเข้า 82 ตัวอย่างนั้น ได้แก่ เห็ดหอมแห้ง พริกแห้ง แก้วมังกร พุทราจีน ส้มแมนดาริน องุ่นแดงนอก ผักชี บร็อกโคลี ขึ้นฉ่าย แครอท หัวไชเท้า และมันฝรั่ง

 

ประเทศที่นำเข้ามากที่สุดตามลำดับคือ จีน (46ตัวอย่าง) ออสเตรเลีย (16 ตัวอย่าง) อเมริกา (6 ตัวอย่าง) เวียดนาม และอินเดีย (2 ตัวอย่าง) แอฟริกาใต้ (1 ตัวอย่าง) และอีก 9 ตัวอย่างเป็นสินค้านำเข้าแต่ไม่ระบุประเทศ

 

ชนิดของผักและผลไม้นำเข้า ที่พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน และแหล่งจำหน่าย โปรดดูจากคอมเม้นท์ที่ 1 ใต้โพสต์นี้ (รูปที่ 2)

 

ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐในการจัดการปัญหาที่มาของผักผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเองเพื่อหลีกเลี่ยงสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และร่วมกันเรียกร้องให้ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ช่วยกันหาทางออกต่อปัญหาเรื้อรังนี้ต่อไป

 

ลิงค์ผลการเฝ้าระวังและวิเคราะห์ก่อนหน้านี้

 

ไทยแพนพบผักผลไม้ 58.7% พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน

องุ่นนำเข้า พุทราจีน พริก ขึ้นฉ่าย คะน้า มะเขือเทศเล็ก เจอ 100%

https://www.facebook.com/260995884002610/posts/3198415926927243/

 

อันดับผักผลไม้ปนเปื้อนสารพิษ ประจำปี 2563

https://www.facebook.com/260995884002610/posts/3200280060074163/

 

ผลการสุ่มตรวจผักประจำปี 2563 ของไทยแพน ตอกย้ำว่าผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ได้ปลอดภัยกว่า

https://www.facebook.com/260995884002610/posts/3203261663109336/

 



ชนิดและแหล่งจำหน่าย สีแดง หมายถึงตกค้างเกินมาตรฐาน / สีเหลือง พบตกค้างแต่ไม่เกินมาตรฐาน / สีเขียวคือไม่พบการตกค้าง

 

//..................

              CR : “เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)

              https://www.facebook.com/ThaiPesticideAlertNetwork/

//..................