“กสอ.” ปลื้ม ผลสำเร็จธุรกิจชุมชนต้นแบบ โครงการ “ธุรกิจชุมชนพัฒน์”

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม  ลงพื้นที่เยี่ยมชมความสำเร็จธุรกิจต้นแบบ บริษัท ฮาร์ท สปอตแวร์ จำกัด หนึ่งในโครงการ “ธุรกิจชุมชนพัฒน์” ต้นแบบนวัตกรรมสังคม ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน


 

 

          นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวได้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 เดิมใช้ชื่อบริษัทว่า HART OTOP โดยก่อตั้งเพื่อพัฒนาอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าของกลุ่มสตรีใน ต.รางหวาย อ.พนมทวน จ.กาญจเปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชม บริษัท ฮาร์ท สปอตแวร์ ซึ่งบริษัทดันบุรี ที่เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสตรีเพียงไม่กี่คน จนได้พัฒนามาเป็นธุรกิจโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าขนาดใหญ่ โดยมียอดขายมูลค่ากว่า 28 ล้านบาทต่อปี

 

 

          ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่พบว่าความสำเร็จของการดำเนินงานของบริษัท ฮาร์ท สปอตแวร์ จำกัด อยู่ที่การสร้างความเข้มแข็งของคนในพื้นที่ ที่พร้อมจะพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน และมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยทางฮาร์ท สปอตแวร์ ได้รับการส่งเสริม และสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จ.สุพรรณบุรี ผ่านโครงการ และกิจกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับ และเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ทางบริษัท มีการขยายธุรกิจที่เติบโตมาจากการผลิตสินค้าที่มาจากชุมชน มีการสร้างรายได้ให้ชุมชน และพัฒนาคุณภาพ และสินค้าอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนได้รางวัล OTOP ในระดับ 5 ดาวมาโดยตลอด

 

 

          นอกจากนี้ กสอ.ยังได้รับความร่วมมือจาก สสส.ในการดำเนินโครงการส่งเสริมผลิตภาพ และสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs Happy and Productivity Workplace : SHAP โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มผลิตภาพที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นองค์กรแห่งความสุขตามหลักการ Happy Workplace

 

 

          ในปี 2556 บริษัท ฮาร์ท สปอตแวร์ ได้เข้าร่วมโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ โดยทางโตโยต้าได้ส่งบุคคลากรเข้าไปให้คำปรึกษา ตั้งแต่การศึกษาข้อมูล ไปจนถึงขั้นตอนการผลิต ทำให้ธุรกิจของ บริษัท ฮาร์ท สปอตแวร์ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ลดต้นทุนการผลิตพัฒนาคุณภาพ ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มผลผลิต รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งแรก เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์แก่ธุรกิจชุมชนรายอื่นๆ

 

 

          อย่างไรก็ตาม จากโครงการดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ประสิทธิผลในการผลิตดีขึ้นจาก 49% เป็น 70 % มูลค่าการสูญเสียอันเนื่องมาจากคุณภาพลดลงจาก 8.5 แสนบาท เหลือเพียง 3 แสนบาท หรือมากกว่า 50% และต้นทุนการดำเนินงาน ลดลงจาก 2.5 ล้านบาท เหลือเพียง 1.4 ล้านบาท นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

 

 

          ด้านนางรสวรรณ จงไมตรีพร ประธานกลุ่มสตรีตำบลรางหวาย อ.พนมทวน จ.กาจนบุรี กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และบริษัท โตโยต้า ที่เข้ามามีส่วนช่วยให้การทำงานเป็นระบบมากขึ้น และพัฒนาการผลิตได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้งานออกมาทันตามกำหนดเวลา ค่าใช้จ่ายโดยรวมลดลง พนักงานมีความสุขมากขึ้น ซึ่งมาวันนี้ธุรกิจของเราสามารถเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่ธุรกิจอื่นๆในชุมชน รู้สึกยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยสร้างเครือข่ายธุรกิจชุมชนให้มีความแข็งแรง และเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป