‘ไทย’ เรียก ‘น้ำปลาพริก’ รู้ไหม ? ชาติอื่นใน ‘อาเซียน’ เรียกว่าอะไร ?

ไทยเรียก น้ำปลาพริกรู้ไหม ? ชาติอื่นใน อาเซียนเรียกว่าอะไร ?

 

           “น้ำปลาพริก” ไม่ได้เป็นเครื่องปรุงคู่โต๊ะอาหาร “คนไทย” เท่านั้น แต่หลายชาติในอาเซียน ก็นิยมชมชอบเช่นกัน และแต่ละชาติในอาเซียน ก็มีชื่อเรียกเฉพาะที่น่าสนใจเหลือเกิน

 

           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ "กรมส่งเสริมวัฒนธรรม" ได้เผยแพร่ข้อความและรูปภาพ สาระความรู้ว่าด้วย “น้ำปลาพริก” โดยมีเนื้อหา ดังนี้

 

“น้ำปลาพริก... จัดเป็นเครื่องปรุงคู่โต๊ะอาหารคนไทยมาเนิ่นนาน

 

ความสำคัญของ น้ำปลา ไม่เพียงชูรสชาติอาหารให้ถูกปากคนไทยเท่านั้น แต่หลายชาติในอาเซียน ก็นิยมทานน้ำปลาเช่นเดียวกัน

 

เมียนมา เรียกน้ำปลาว่า หงะปยา

ลาว เรียก น้ำปา

กัมพูชา เรียก ตึกเตรย

เวียดนาม เรียก เนื้อกมั้ม

มาเลเซีย เรียก ซอสอิกัน

อินโดนีเซีย เรียก เกอจั๊บอิกัน

ฟิลิปปินส์ เรียก ปาติส

 

กระทั่ง จีน แหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต อย่าง baike.baidu.com (ศูนย์ข้อมูลอาหารแต้จิ๋ว) ก็ระบุทำนองว่า ในดินแดนแถบ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน มีการผลิต “น้ำปลา” มายาวนานหลายพันปีแล้ว ค้นพบโดยบังเอิญจากการหมักปลาแล้วได้น้ำหมักที่มีรสชาติดี กลิ่นหอม สีสวย ที่สำคัญต้องหมักจนเป็นสีอำพันจึงจะมีคุณภาพดีเลิศ

 

และจีนก็ (เชื่อว่าตน) ได้ส่งผ่าน “วัฒนธรรมน้ำปลา” นี้ลงมาทาง เวียดนาม กัมพูชา ไทย ตลอดจนดินแดนหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในที่สุด

 

อย่างไรก็ดี สำหรับในเมืองไทย อุตสาหกรรมน้ำปลาซึ่งริเริ่มและสืบทอดมาโดยตลอดในครอบครัวคนจีนภาคกลางหลายตระกูล ตั้งแต่หลังทศวรรษ ๒๔๖๐๒๔๗๐ ก็ทำให้เพียงชั่วเกือบหนึ่งศตวรรษให้หลัง “น้ำปลา” กลายเป็นเครื่องปรุงรสเค็มที่ต้องมีทุกครัวเรือน

 

กระทั่งมีไม่น้อยที่ได้เบียดขับ ของเค็มแต่เดิม อย่างเช่น เกลือ ปลาร้า ไตปลา ออกไปจากครัวของบางบ้านในที่สุด”

 

#กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

 

 

//...............

                CR : เพจ "กรมส่งเสริมวัฒนธรรม"

                https://www.facebook.com/DCP.culture/

 //...............